(เน้นคำตามต้นฉบับ)
พลิกคำพิพากษาฎีกาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
คุก 'วีระ' นปก.รุ่นพี่กับชะตากรรม 'จักรภพ'
หนังสือพิมพ์"มติชน-ประชาชาติธุรกิจ"ได้นำ เสนอข่าวและข้อมูลเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง โดยมีบทความเรื่องหนึ่งชื่อ"นิติกรรมอำพราง" ได้เขียนขึ้นเพื่อเปิดโปงคดีดังกล่าวมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว แต่ไม่ได้รับความสนใจจากกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง
หมายเหตุ"มติชนออนไลน์"-แม้นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรนัฐมนตรี จะมีอายุห่างกับนายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) รุ่นพี่ ฉายาไข่มุกดำ ที่เพิ่งฉลองอายุ 60 ปีหมาดๆ ถึง 20 ปี แต่บุคคลทั้งสองอาจมีชะตากรรมเดียวกัน?
เมื่อ 20 ปีก่อนในปี 2531 ศาลฎีกามีคำพิพากษาจำคุก นายวีระ 4 ปี ในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และผิดรัฐธรรมนูญปี 2521 มาตรา 2 และ 6 ว่าด้วย "องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้" ประกอบมาตรา 45,46 และ 54 ว่าด้วย บุคคลใดจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญให้เป็นปฏิปักษ์ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และรัฐธรรมนูญมิได้
นายวีระ ต้องนอนอยู่ในเรือนจำบุรีรัมย์ประมาณ 1 เดือน ก็ได้รับการปล่อยตัว เนื่องจากได้รับพระราชทานอภัยโทษ โดยคำขอพระราชทานอภัยโทษ ลงนามเสนอโดย พล.อ.ประจวบ สุนทรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
สำหรับนายจักรภพ นอกจากต้องหลุดเก้ารัฐมนตรีแล้ว ยังตกเป็นผู้ต้องหาเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่บัญญัติว่า"ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุก 3-15 ปี" เนื่องจากไปบรรยายที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550
จึงน่าจะศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีของนายวีระ นปก.รุ่นพี่เพื่อใช้บทเรียนสำคัญ
------------------------------------------------------
คำพิพากษาศาลฎีกา(ที่ 2354/2531)
ระหว่าง พนักงานอัยการ จังหวัดบุรีรัมย์ โจทก์ นายวีระ มุสิกพงศ์ จำเลย
(ที่มา:เว็บไซต์ของศาลฎีกา)
ระหว่าง พนักงานอัยการ จังหวัดบุรีรัมย์ โจทก์ นายวีระ มุสิกพงศ์ จำเลย
(ที่มา:เว็บไซต์ของศาลฎีกา)
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ข้อความที่จำเลยกล่าวไม่เป็นการใส่ความและไม่อาจทำให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังได้ จึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด พิพากษายกฟ้อง
แต่ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยมีเจตนาหมิ่นประมาทดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือรัชทายาท พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุกกระทงละ 3 ปี รวม2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี
ชั้นศาลฎีกา คำพิพากษาสรุปว่า ในทางพิจารณา โจทก์นำสืบว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 13กรกฎาคม 2529 เวลาประมาณ 14 นาฬิกา จำเลยได้กล่าวปราศรัยในการหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ที่หน้าสถานีรถไฟลำ ปลายมาศตำบลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยพูดทางเครื่องขยายเสียงมีประชาชนมาฟังประมาณ 4-5 พันคน
ในคำปราศรัยของจำเลยตอนหนึ่ง จำเลยได้กล่าวว่า ผม ถ้าเลือกเกิดเองได้ ผมจะไปเลือกเกิดทำไมเป็นลูกชาวนาจังหวัดสงขลา จะไปเลือกเกิดอย่างนั้นทำไมถ้าเลือกเกิดได้ก็เลือกเกิดมันใจกลางพระบรม มหาราชวังนั่น ออกมาเป็นพระองค์เจ้าวีระ ซะก็หมดเรื่อง ไม่จำเป็นจะต้องออกมายืนตากแดดพูดให้พี่น้องฟัง เวลาอย่างนี้เที่ยงๆ ก็เข้าห้องเย็น เสวยเสร็จก็บรรทมไปแล้ว ตื่นอีกทีก็บ่ายสามโมง
ที่มายืนกลางแดดอยู่ทุกวันนี้ก็มันเลือกเกิดไม่ ได้ เลือกเกิดในท้องคนจนก็ไม่ได้ จะเลือกเกิดในท้องคนรวยก็ไม่ได้ จะเลือกเกิดที่กรุงเทพฯ ก็ไม่ได้เลือกเกิดที่จังหวัดบุรีรัมย์ก็ไม่ได้
ในวันเดียวกันหลังจากที่จำเลยได้ปราศรัยที่อำเภอ ลำปลายมาศแล้ว จำเลยได้ไปกล่าวปราศรัยที่หน้าที่ว่าการอำเภอสตึก ต่อหน้าประชาชนที่มาฟังประมาณ 1หมื่นคน มีข้อความตอนหนึ่งว่า ถ้าคนเราเลือกที่เกิดได้ ผมทำไมจะไปเกิดเป็นลูกชาวนาที่สงขลาให้มันโง่อยู่จนทุกวันนี้ ผมเลือกเกิดมันใจกลางพระบรมมหาราชวังไม่ดีเหรอ เป็นพระองค์เจ้าวีระไปแล้ว
ถ้าเป็นพระองค์เจ้าป่านนี้ก็ไม่มายืนพูดให้คอแหบ คอแห้ง นี่เวลาก็ตั้งหกโมงครึ่ง ผมเสวยน้ำจัณฑ์เพื่อให้มันสบายอกสบายใจไม่ดีกว่าเหรอ ที่มายืนพูดนี่ก็เมื่อยพระชงฆ์เต็มทีแล้วนะ
คำกล่าวปราศรัยของจำเลยทั้งสองแห่งเป็นการกล่าวตำหนิล่วงเกินองค์พระมหา กษัตริย์ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
ทั้งนี้ คำที่จำเลยกล่าวถึงพระบรมมหาราชวัง มีความหมายถึงพระบรมมหาราชวังใหญ่อันเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นพระมหากษัตริย์ รวมทั้งเป็นที่ประสูติและที่สวรรคตด้วย
พระบรมมหาราชวังนี้นอกจากจะหมายถึงองค์พระมหากษัตริย์แล้วย่อมหมายถึงพระ ราชินีและองค์รัชทายาทด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และองค์รัชทายาท แม้จะประสูติที่ใดก็ให้ถือว่า ประสูติในพระบรมมหาราชวัง
ส่วนที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรม ราชินีนาถ แม้จะไม่ได้ประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวังที่ประทับนั้นก็ให้ถือว่า เป็นพระบรมมหาราชวังด้วย
ฉะนั้นเมื่อประชาชนได้ยินคำพูดถึงพระบรมมหาราชวังก็จะนึกถึงพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขณะประสูติทรงมีฐานันดรเป็นพระองค์เจ้า
ดังนั้น พระองค์เจ้าที่เกิดในพระบรมมหาราชวังจึงหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การที่จำเลยกล่าวที่อำเภอลำปลายมาศว่า ไม่จำเป็นจะต้องออกมายืนตากแดดพูดให้พี่น้องฟัง เวลาอย่างนี้เที่ยง ๆ ก็เข้าห้องเย็นเสวยเสร็จก็บรรทมไปแล้วตื่นอีกทีก็บ่ายสามโมง มีความหมายว่า ทั้งสามพระองค์มีความเป็นอยู่สุขสบาย การงานไม่ต้องทำ พักผ่อนกันตลอดไป
ส่วนข้อความที่จำเลยกล่าวที่อำเภอสตึกว่าถ้าเป็นพระองค์เจ้าป่านนี้ก็ไม่มา ยืนพูดให้คอแหบคอแห้ง นี่เวลาก็ตั้งหกโมงครึ่ง ผมเสวยน้ำจัณฑ์เพื่อให้มันสบายอกสบายใจไม่ดีกว่าเหรอ ที่มายืนพูดนี่ก็เมื่อยพระชงฆ์เต็มทีแล้วนะ
ข้อความนี้หมายความว่า ทั้งสามพระองค์อยู่อย่างสะดวกสบาย ดื่มสุราเพื่อความสำราญผิดกับประชาชนธรรมดาที่ต้องทนกรำแดดกรำฝน ไม่มีเวลาพักผ่อน
คำว่า บรรทม น้ำจัณฑ์ และพระชงฆ์เป็นคำราชาศัพท์ใช้สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมเหสี หรือองค์รัชทายาท ซึ่ง ความจริงแล้วทั้งสามพระองค์มิได้เป็นอย่างที่จำเลยว่า พระองค์มีพระราชภารกิจอยู่มากมายและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อประเทศชาติ และความมั่นคง ความอยู่สุขของประชาราษฎร์พระราชภารกิจประจำวันของพระองค์ก็ไม่ได้เป็นอย่าง ที่จำเลยว่าการกล่าวเช่นนี้ทำให้พระองค์ได้รับความเสียหาย เป็นการใส่ความ ทำให้ประชาชนขาดความเคารพสักการะถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ซึ่งตามปกติพระองค์เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนผู้ใดจะล่วงเกินมิได้
การที่จำเลยกล่าวเช่นนี้เป็นการกล่าวอย่างมีเจตนาโดย เมื่อจำเลยพูดในตอนบ่าย ก็ยกตัวอย่างในช่วงตอนบ่าย ซึ่งเป็นพฤติการณ์ในตอนบ่ายครั้นถึงตอนเย็นจำเลยก็ยกตัวอย่างเกี่ยวกับ พฤติการณ์ตอนเย็นซึ่งเรื่องนี้หากจำเลยไม่ตั้งใจ จำเลยก็จะพูดเพียงครั้งเดียวแล้วไม่พูดอีกแต่จำเลยพยายามที่จะดัดแปลงข้อ ความในการพูดทั้งสองครั้งให้เข้ากับบรรยากาศในเวลาที่กำลังพูด
ต่อมาประชาชนบางกลุ่มมีความเคลื่อนไหวที่จะเดินขบวนประท้วงการกระทำของจำเลยซึ่งจะเกิดความไม่สงบขึ้นในบ้านเมือง สมาชิก วุฒิสภาและนายทหารราชองค์รักษ์ซึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้ยื่นญัตติไปยัง ประธานรัฐสภาให้รัฐบาลแถลงเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ได้ดำเนินการไปอย่างไร เพื่อประชาชนจะได้ทราบข้อเท็จจริง
จำเลยได้ติดต่อขอทำความเข้าใจกับผู้ที่ยื่นญัตติโดยจำเลย ยอมรับว่า ได้มีการกล่าวข้อความดังกล่าวจริง และในที่สุดจำเลยได้ทำพิธีขอขมา โดยกล่าวขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวที่ห้องรับรองของรัฐสภาต่อหน้าสื่อมวลชนและสมาชิกวุฒิสภาที่ยื่นญัตติ การที่จำเลยได้กระทำพิธีขอพระราชทานอภัยโทษดังกล่าวแสดงว่า จำเลยทำแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพโดยความสมัครใจ
ต่อมาจำเลยได้ทำหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษผ่านทางราชเลขาธิการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จำเลยนำสืบว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยจบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขณะที่ศึกษาอยู่นั้นจำเลยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนนักศึกษาของคณะนิติศาสตร์ และเป็นหัวหน้าทีมโต้วาทีของมหาวิทยาลัยหลายปีติดต่อกัน หลังจากจบการศึกษาแล้ว จำเลยประกอบอาชีพเป็นนักหนังสือพิมพ์ทำงานที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ไทยรัฐ มติชนและชาวไทย โดยเริ่มงานเป็นผู้สื่อข่าวการเมือง และเขียนบทความการเมืองประจำ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2517
จำเลยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในกรุงเทพมหานครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพมหา นคร2 ครั้ง และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุงอีก 3 ครั้งติดต่อกันระหว่างเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2519
จำเลยเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2524 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2525 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526เป็นต้นมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ตำแหน่งในพรรคการเมืองจำเลยเคยเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ต่อมาได้ เป็นกรรมการบริหารในตำแหน่งโฆษกพรรคและครั้งหลังสุดเป็นเลขาธิการพรรค
ในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ที่มีบทบาทในการหาเสียงคือหัวหน้าพรรคนายชวน หลีกภัย นายมารุต บุนนาค และตัวจำเลย เกี่ยวกับคดีนี้เนื่องจากมีการเลือกตั้งทั่วไปในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎรเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2529
จำเลยในฐานะเลขาธิการพรรคต้องเดินทางไปช่วยหาเสียงให้แก่ลูกพรรคทั่วประเทศ ในจังหวัดบุรีรัมย์พรรคประชาธิปัตย์ส่งสมาชิกลงสมัครในเขตเลือกตั้งทุกเขต เขต 1 มีนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ลง สมัครรับเลือกตั้ง ระหว่างหาเสียงนั้นจำเลยได้รับรายงานจากนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ว่า ได้รับความนิยมจากประชาชนมาก ทำให้คู่แข่งขันหวั่นวิตกว่า พรรคประชาธิปัตย์จะชนะการเลือกตั้ง คู่แข่งขันจึงระดมกันโจมตีนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ โดยการปราศรัยและออกใบปลิวแจกจ่ายแก่ประชาชนอ้างว่าชาวบุรีรัมย์ควรเลือกคน บุรีรัมย์เป็นผู้แทนราษฎรนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ เป็นคนเกิดที่กรุงเทพมหานคร และเป็นลูกเศรษฐีจึงไม่ควรเลือกนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ เป็นผู้แทนราษฎรของจังหวัดบุรีรัมย์
ข้อกล่าวหานี้ทำให้ นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ วิตกว่า อาจจะทำให้คะแนนเสียงลดลงหรือทำให้ไม่ได้รับเลือกตั้งจำเลยจึงรับที่จะแก้ไข ให้ ต่อมาเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2529 จำเลยได้ไปช่วยหาเสียงให้แก่นายพรเทพ เตชะไพบูลย์และนายการุณ ใสงามเฉพาะในเขต 1
จำเลยไปปราศรัยที่อำเภอลำปลายมาศและอำเภอสตึกส่วนเขตของนายการุณ ใสงาม จำเลยปราศรัยที่หลังสถานีรถไฟอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ข้อความที่ปราศรัยที่อำเภอลำปลายมาศและอำเภอสตึกจำเลยปราศรัยถึงเรื่องการ เมืองและปัญหาสังคมและอธิบายถึงหน้าที่ของผู้แทนราษฎรที่แท้จริงให้ประชาชน ได้เข้าใจเมื่ออธิบายถึงหน้าที่ของผู้แทนราษฎรแล้ว
จำเลยได้อธิบายถึงคุณสมบัติของผู้สมัครของพรรคว่า นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ มีวุฒิทางการศึกษาสูงจบจากต่างประเทศมีฐานะส่วนตัวดี อยู่ในฐานะที่จะช่วยเหลือประชาชนได้และได้ขอร้องประชาชนว่าอย่าถือเอาที่ เกิดเป็นเรื่องสำคัญ เพราะคนเราไม่สามารถเลือกเกิดเองได้
โดยจำเลยกล่าวว่าแม้ตัวจำเลยเองเมื่อปี พ.ศ. 2524 ไปลงสมัครรับเลือกตั้งที่จังหวัดพัทลุง ก็ถูกคู่แข่งขันโจมตีในลักษณะนี้มาแล้ว โดยถูกโจมตีว่าเป็นคนเกิดที่จังหวัดสงขลาแล้วมาลงสมัครผู้แทนราษฎรที่ จังหวัดพัทลุง ขอให้ประชาชนชาวพัทลุงต่อต้านอย่าเลือกจำเลยเป็นผู้แทนราษฎร ในครั้งนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดพัทลุงคนหนึ่งคือนายพร้อม บุญฤทธิ์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ได้กล่าวปราศรัย แก้แทนจำเลยซึ่งเป็นผู้สมัคร
จำเลยเล่าให้ประชาชนฟังเหมือนกับที่จำเลยกล่าวที่อำเภอลำปลายมาศและอำเภอ สตึก จำเลยพูดโดยมีเจตนาจะแก้ข้อที่ว่าคนเรานั้นเลือกเกิดไม่ได้ แต่สามารถที่จะเลือกทำความดีได้ และการเลือกผู้แทนราษฎรให้ดูว่า เขามีความสามารถทำงานในฐานะผู้แทนราษฎรได้หรือไม่ ไม่ถือเอาที่เกิดเป็นเรื่องสำคัญ
ส่วนการที่จำเลยยกเรื่องดังกล่าวขึ้นพูดเป็นเรื่องอุปมาอุปไมย เพื่อให้ประชาชนเข้าใจชัดว่าคนเราเลือกเกิดไม่ได้จริง ๆ จะเลือกเกิดเป็นคนจนก็ไม่ได้จะเลือกเกิดเป็นคนรวยก็ไม่ได้ จะเลือกเกิดที่กรุงเทพฯ ก็ไม่ได้จะเลือกเกิดที่บุรีรัมย์ก็ไม่ได้
จำเลยไม่ได้มุ่งที่จะเปรียบเทียบหรือดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือองค์รัชทายาทแต่อย่างใดคำว่าถ้าเลือกเกิดได้นั้นเป็นเรื่องที่จำเลย สมมุติตัวเองขึ้น และคำว่า พระองค์เจ้าวีระนั้นจำเลยหมายถึงตัวจำเลยเอง เป็นเรื่องที่จำเลยสมมุติขึ้น และที่ว่า เป็นพระองค์เจ้าวีระแล้วจำเลยจะบรรทมตื่นสายนั้น จำเลยหมายถึงตัวจำเลย ไม่ได้เปรียบเทียบกับพระองค์อื่นใด ที่โจทก์อ้างว่าพระบรมมหาราชวังหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชินีและองค์รัชทายาทนั้น เป็นการตีความที่บิดเบือน เพราะเป็นการเอาวัตถุมาหมายถึงบุคคลซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้หนังสือ พระราชวังในกรุงเทพฯ (พ.ศ. 2325-2525) ให้ความหมายคำว่า พระบรมมหาราชวังคือศูนย์กลางของการปกครอง และที่ประทับของพระมหากษัตริย์
คนทั่วไปมีความเข้าใจว่า พระบรมมหาราชวังหมายถึงบริเวณพระราชวังซึ่งอยู่ที่วัดพระแก้ว และเป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ ความจริงแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพระราชโอรส พระราชธิดาทุกพระองค์ไม่ได้ประทับที่พระบรมมหาราชวังหากแต่ประทับอยู่ที่พระ ตำหนักจิตรลดารโหฐาน และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก็มิได้ประสูติในพระบรมมหาราชวัง
ส่วนสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ประสูติที่พระที่นั่งอัมพรสถาน และคำว่าพระองค์เจ้าที่โจทก์กล่าวหาว่าหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถและองค์รัชทายาทนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะไม่มีทางเป็นไปได้ มีน้อยคนที่จะทราบว่า ความจริงแล้วพระองค์ทรงพระอิสริยยศเป็นอะไร ตามตำราของกระทรวงศึกษาธิการปรากฏว่า เดิมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงมีฐานันดรเป็นหม่อมเจ้า จึงเข้าใจตลอดมาว่า พระอนุชาคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงเป็นหม่อมเจ้าด้วย หาใช่พระองค์เจ้าไม่ ฐานันดรเดิมของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเป็นหม่อมราชวงศ์ พระองค์ไม่เคยทรงฐานันดรเป็นพระองค์เจ้า
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เมื่อตอนประสูติก็ทรงฐานันดรเป็นเจ้าฟ้า ไม่เคยทรงมีฐานันดรเป็นพระองค์เจ้า เมื่อเอ่ยคำว่า พระองค์เจ้าลอยๆ ไม่ระบุชื่อ จะไม่ทราบว่าเป็นผู้ใด เมื่อระบุชื่อลงไปด้วยจึงจะทราบว่าหมายถึงใคร
ที่โจทก์นำสืบว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ไปประทับที่ไหน ก็ให้ถือว่าที่นั่นเป็นพระบรมมหาราชวังนั้นไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการบัญญัติถ้อยคำขึ้นเองเพื่อลงโทษจำเลย คำราชาศัพท์ที่ว่าบรรทม ตื่นสาย เสวยน้ำจัณฑ์ เมื่อยพระชงฆ์นั้น เป็นราชาศัพท์ที่คนทั่วไปรู้ว่าใช้ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป
สำหรับความรู้สึกของประชาชนต่อการที่จำเลยกล่าวปราศรัยที่อำเภอลำปลายมาศและ อำเภอสตึกทั้งหมดนั้นประชาชนรู้สึกเฮฮาสนุกสนาน ไม่มีปฏิกิริยาประท้วงหรือลุกขึ้นเดินหนีแต่ประการใด
จำเลยกล่าวปราศรัยให้นายการุณ ใสงามที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จำเลยก็ไม่ได้กล่าวข้อความที่โจทก์ฟ้องเพราะในเขตเลือกตั้งนั้นไม่มีการ กล่าวโจมตีนายการุณ ใสงาม ในประเด็นเดียวกันกับนายพรเทพ เตชะไพบูลย์หลังจากจำเลยกล่าวคำปราศรัยแล้วทั้งสองแห่ง ไม่มีประชาชนไปแจ้งความเรื่องที่จำเลยกล่าวปราศรัย
ต่อมานายเชิดชัย เพชรพันธ์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้งของพรรคสหประชาธิปไตย เขตกรุงเทพมหานคร ได้ไปแจ้งความ นายศิว์ณัฎฐพงศ์พยานโจทก์เป็นผู้แทนของพรรคสหประชาธิปไตยและนายจรูญ นิ่มนวล เป็นหัวคะแนนของพรรคสหประชาธิปไตยซึ่งเป็นคู่แข่งทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์
การที่นายเชิดชัยเพชรพันธ์ไปแจ้งความก็เพื่อหวังผล ทางการเมืองและเพื่อทำลายคะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ทั่วประเทศ หลังการเลือกตั้งจำเลยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ต่อมาได้มีการปลุกระดมกลุ่มมวลชนต่าง ๆ โดยเริ่มจากพรรคฝ่ายค้าน ฝ่ายทหารทำการปลุกระดมในกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ท.ส.ป.ช. และกลุ่มกระทิงแดงเพื่อเร่งรัดให้ดำเนินคดีแก่จำเลย แรกเริ่มเกิดเรื่องนี้ที่จังหวัดบุรีรัมย์ พนักงานสอบสวนได้ส่งเรื่องไปให้กรมตำรวจพิจารณาก่อนแล้ว แต่พนักงานสอบสวนเบื้องต้นที่จังหวัดบุรีรัมย์เห็นว่าไม่มีความผิด ไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112จึงส่งเรื่องให้กรมตำรวจ ทางกรมตำรวจได้ให้พลตำรวจตรีสุภาสจีรพันธ์ รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ในฐานะที่เป็นหัวหน้าคณะทำงานเรื่องกฎหมาย
ในสถานการณ์เลือกตั้งพิจารณาเรื่องนี้พลตำรวจตรีสุภาส จีรพันธ์ ได้ประชุมพิจารณาและทำความเห็นไปยังอธิบดีกรมตำรวจว่า ไม่เข้าข่ายองค์ประกอบของมาตรา 112 จึงให้ระงับเรื่อง แต่ขณะเดียวกันกลุ่มประชาชนเริ่มลุกฮือเป็นที่น่าหวั่นเกรงว่าจะเกิดความไม่ สงบขึ้นได้ ในที่สุดกรมตำรวจได้สั่งการให้ดำเนินคดีแก่จำเลย โดยให้ถือว่าคดีพอมีมูลที่จะฟ้องร้องได้ ทั้งนี้จริง ๆ แล้วเพื่อแก้ปัญหาความกดดันทางการเมืองเมื่อมีความกดดันดังกล่าว
จำเลยจึงต้องแก้ปัญหาด้วยการลาออกโดยไม่มีใครบังคับ เพื่อเจตนาที่จะแก้ปัญหาความกดดันทางการเมืองและปกป้องรัฐบาลและระบอบประชาธิปไตย
ที่จำเลยกล่าวขอขมาในห้องรับรองของรัฐสภาต่อพระบรมสาทิสลักษณ์นั้นจำเลยไม่ได้ยอมรับผิด เหตุที่จำเลยไปขอขมาเนื่องจากพลโทวัฒนชัย วุฒิศิริ ซึ่งในขณะนั้นเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 1 ได้ติดต่อกับจำเลยเพื่อแก้ปัญหา โดยให้จำเลยไปพบพลโทพิจิตร กุลละวณิชย์ แม่ทัพภาคที่ 1 ในขณะนั้นจำเลยก็ได้ไปพบตามที่นัดหมาย และได้พูดคุยทำความเข้าใจจนชัดแจ้งว่า จำเลยมีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งเจตนาที่จำเลยปราศรัยที่จังหวัดบุรีรัมย์เพื่อแก้ข้อกล่าวหาให้แก่ นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ และไม่ได้มีเจตนาอย่างที่ฝ่ายค้านหรือทางทหารเข้าใจ พลโทพิจิตร กุลละวณิชย์ ก็เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างและจะเลิกรากันไป
แต่มีปัญหาว่าญัตติที่พลโทพิจิตรกุลละวณิชย์ ยื่นไว้ต่อวุฒิสภากล่าวหาว่าจำเลยละเมิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น ถ้าจะถอนญัตติจะอธิบายแก่ประชาชนอย่างไร เพราะประชาชนอาจมองไปในแง่ไม่ดี จำเลยบอกว่าจะให้ทำอย่างไรก็ยินดี พลโทพิจิตร กุลละวณิชย์ จึงเชิญสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นเจ้าของญัตติมาพบพร้อมกันที่สภา ขอให้จำเลยกล่าวคำขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระบรมสาทิสลักษณ์ จำเลยจึงกล่าวขอขมาเพื่อให้ผู้ยื่นญัตติทุกคนสบายใจ และเพื่อให้กลุ่มมวลชนที่กำลังลุกฮือสลายตัวไป ทั้งนี้โดยการแสดงออกถึงความจริงใจของจำเลยในความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหา กษัตริย์
ส่วนคำกล่าวของจำเลยตอนหนึ่งที่ว่า จะผิดหรือไม่ผิดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ในประเด็นข้อกฎหมายจะไม่พูดถึง เพราะจำเลยเห็นว่าเป็นเรื่องของศาลและถ้าเห็นว่า เป็นเรื่องระคายเคืองต่อเบื้องพระยุคลบาทจำเลยก็พร้อมที่จะขอพระราชทานอภัย สำหรับคำกล่าวขอพระราชทานอภัยนั้น กองทัพภาคที่ 1 ได้จัดพิมพ์แล้วใส่ซองมาให้จำเลยกล่าว ไม่ใช่เป็นการรับสารภาพ เพราะจำเลยให้การปฏิเสธตลอดมาตั้งแต่ชั้นสอบสวนจนถึงชั้นศาล
จำเลยมีสาเหตุขัดแย้งกับพยานโจทก์ คือ นายสิงห์โต จ่างตระกูล นายสรวง อักษรานุเคราะห์ นายชวลิต รุ่งแสง พลโทพิจิตร กุลละวณิชย์ และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยปราศรัยที่อำเภอลำปลายมาศและอำเภอสตึก เป็นการพูดหลายครั้งเป็นการกระทำโดยเจตนานั้น ไม่เป็นความจริงเพราะจำเลยไม่มีเจตนาจำเลยเป็นรัฐมนตรี เห็นว่าสิ่งใดผิดจะไม่พูด และขณะนั้นเป็นช่วงหาเสียงต้องการเสียงสนับสนุนจากประชาชน หากพูดสิ่งที่ประชาชนโกรธและเกลียดก็จะไม่ได้คะแนนเสียง
จำเลยเข้าใจอย่างซาบซึ้งว่าทุกพระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยยากที่บุคคลธรรมดาจะ ปฏิบัติได้ และการที่นายสุจินต์ ทิมสุวรรณอธิบดีกรมอัยการมีคำสั่งให้พนักงานอัยการพิเศษ 2 นายเป็นผู้ดำเนินคดีนี้เฉพาะเรื่อง ก็เพราะมีสาเหตุโกรธเคืองจำเลยเนื่องมาจากเรื่องคดีฆ่าผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จังหวัดภูเก็ต สำหรับคดีที่จำเลยถูกฟ้องที่ศาลแขวงพระนครเหนือและศาลแขวงพระนครใต้
ศาลพิเคราะห์แล้ว ข้อความที่จำเลยกล่าว จะเป็นการใส่ความในประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชังหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาถึงฐานะที่ทรงดำรงอยู่และความรู้สึกนึกคิดของประชาชนชาวไทยอัน มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ประกอบด้วย ซึ่งปรากฏตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกอบกับประมวลกฎหมายอาญาอย่าง แจ้งชัดว่า องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงดำรงอยู่ในฐานะพระประมุขของประเทศ ทรงเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะล่วงละเมิดหรือใช้สิทธิและเสรีภาพให้เป็น ปฏิปักษ์ในทางหนึ่งทางใดมิได้
ทั้งรัฐและประชาชนต่างมีหน้าที่ต้องรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ ดำรงอยู่คู่ประเทศตลอดไป แม้ในความรู้สึกนึกคิดของประชาชนชาวไทยอันมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็ให้ความเคารพสักการะและยกย่องเทิดทูนไว้เหนือเกล้าฯตลอดมาตั้งแต่โบราณกาล การที่จะกล่าววาจาจาบจ้วงล่วงเกินเปรียบเทียบเปรียบเปรยหรือเสียดสีให้เป็น ที่ระคายเคืองต่อเบื้องพระยุคลบาทนั้น หามีบุคคลใดกล้าบังอาจไม่
จำเลยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการและเลขาธิการพรรคการเมือง ได้กล่าวต่อประชาชนเพื่อช่วยหาเสียงให้แก่สมาชิกพรรคการเมืองของตนมีความว่า ถ้าเลือกเกิดได้ จะเลือกเกิดใจกลางพระบรมมหาราชวังออกมาเป็นพระองค์เจ้าวีระไม่ต้องมายืนตาก แดด พูดให้ประชาชนฟังถึงเวลาเที่ยงก็เข้าห้องเย็น เสวยเสร็จก็บรรทม ตื่นอีกทีบ่ายสามโมงพอตกเย็นก็เสวยน้ำจัณฑ์ให้สบายอกสบายใจ เป็นการกล่าวเปรียบเทียบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราช กุมาร องค์รัชทายาททรงมีความเป็นอยู่สุขสบาย ไม่ต้องปฏิบัติพระราชภารกิจใด ๆ ต่างกับจำเลยที่เป็นลูกชาวนา ต้องทำงานหนัก ซึ่งข้อความที่จำเลยกล่าวนั้นไม่เป็นความจริง
จึงเป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯลฯ ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติยศชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง แม้การกระทำดังกล่าวของจำเลยจะไม่เกิดผลเพราะไม่มีใครเชื่อถือคำกล่าวนั้นก็ ตาม ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
จำเลยจะมีเจตนาหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นหรือไม่ จะถือตามความเข้าใจของจำเลยซึ่งเป็นผู้กล่าวเองมิได้ ต้องพิจารณาจากข้อความที่จำเลยกล่าวทั้งหมด การที่จำเลยกล่าวข้อความไปอย่างไร แล้วกลับมาแก้ว่า ไม่มีเจตนาตามที่กล่าว ย่อมยากที่จะรับฟัง
การที่จำเลยเป็นผู้มีคุณความดีมาก่อน หลังจากเกิดเหตุแล้วยังได้ไปกล่าวคำกราบบังคมทูลของพระราชทานอภัยโทษต่อพระ บรมสาทิสลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้มีหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการรู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผล ร้ายแห่งความผิดนั้น อันเป็นเหตุบรรเทาโทษ มีเหตุสมควรปรานีลดโทษให้จำเลย
/////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น