ภายหลังได้รับพระราชทานอภัยโทษและเนรเทศออกจากประเทศไทย จากความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แฮรี่ นิโคไลดส์ เขียนถึงบรรยากาศภายในคุกและกระบวนการยุติธรรมไทย ผ่านเรื่องราวของนักโทษคนหนึ่งที่เขาได้พบระหว่างที่อยู่ในเรือนจำคลอง เปรม พร้อมภาพแสดงความเป็นอยู่ในเรือนจำไทย
บุคคลที่แฮรี่อ้างอิงถึงคือ เบนาม โมอาฟี นักโทษชาวสวีเดน เชื้อสายอิหร่าน ซึ่งถูกตัดสินจำคุก 22 ปีด้วยข้อหากรรโชกทรัพย์ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีที่เกิดขึ้นยังเป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์ในชั้น อุทธรณ์ แต่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพที่นักโทษผู้นี้ได้พบเจอในคุกของไทย คือเรื่องราวที่แฮรี่ นำเสนอออกมาเป็นงานชิ้นแรกเกี่ยวกับประเทศไทยหลังจากเขาที่เขาถูกเนรเทศออก ไป
กรณีของเบนาม โมอาฟี นักโทษเชื้อสายอิหร่าน-สวีดิช เป็นกรณีที่องค์กร “Fair Trial International” กำลังรณรงค์เพื่อให้เขาได้รับความยุติธรรมจากกระบวนการ ยุติธรรมไทย http://www.fairtrials.net/index.php/cases/spotlight/benny_benham_jantharakul/
นายวรสิทธิ์ พิริยะวิบูลย์ ทนายความของเบนาม กล่าวกับประชาไทว่า เบนามพยายามเรียกร้องสิทธิของผู้ต้องขัง และดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เนื่องจากการละเมิดกฎหมายของเจ้าหน้าที่ทั้งในส่วนของตัวเขาเอง และยื่นคำร้องเพื่อปกป้องสิทธิของผู้ต้องขังอื่นๆ เป็นจำนวนนับร้อยคดี
หมายเหตุ ประชาไทเซ็นเซอร์โดยตัดข้อความบางส่วน
แฮรี่ นิโคไลดส์: กล้วยที่แพงที่สุดในประเทศไทย
แฮรี่ นิโคไลดส์
9 มิถุนายน 2009
ด้วยความพยายามอย่างที่สุดจากผู้คุม เบนาม โมอาฟี เชื้อสายอิหร่าน-สวิดิช ซึ่งเกิดในเตห์ราน ในปี 1968 ปฏิเสธที่จะตาย เขาถูกพิพากษาจำคุกในประเทศไทย 22 ปี ในความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ ปล้นทรัพย์และแบล็กเมล์ ซึ่งเป็นความผิดที่เขาไม่ได้กระทำ
หลัง 8 ปีของการถูกละเมิด การทารุณ ความหิว และการขังเดี่ยว ภาวะทุพโภชนาการ ความเจ็บป่วย และเงื่อนไขที่ผลักให้คนๆ หนึ่งต้องเสียจริต เบนาม หรือที่เพื่อนร่วมห้องขัง ในเรือนจำคลองเปรม รู้จักกันในนามว่า “เบนนี” ได้รับปริญญานิติศาสตร์บัณฑิตไทย และเรียนรู้การเล่นเครื่องดนตรีไทย เขายังได้ฟ้องร้องการละเมิดกฎหมายของผู้คุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจและทนายความ กว่า 130 กรณี[1]
โดยรัฐบาลที่ถูกเปลี่ยนหลายครั้ง และโดยการรัฐประหาร เบนนีได้เรียนรู้มากมายเกี่ยวกับประเทศไทย อดีตผู้นำ ตลอดจนบุคคลแถวหน้าของพรรคการเมือง ก่อนลงเอยที่คุกเดียวกับเขา
เดือนนี้ เขายื่นคำร้องให้มีการพิจารณาคดีของเขาอีกครั้ง เป็นการแสวงหาโอกาสจากความคลุมเครือและไม่ชัดเจนของประมวลกฎหมายอาญาของไทย ซึ่งอนุญาตให้มีการพิจารณาคดีใหม่เพียง 1 ครั้งในรอบ 10 ปี [2]
เบนนีเผชิญกับเรื่องเลวร้ายมามาก และไม่มีอะไรจะเสีย อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลไม่จัดการต่อกรณีของเขา เจ้าหน้าที่ในองค์กรตุลาการไทย เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่อยู่ในกรุงเทพฯ คงถูกทำให้อับอายต่อหน้าประชาคมโลก
เบนนี โมอาฟี ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยในวันที่ 14 กันยายน ปี 2000 เขาถูกกล่าวหาว่า ทำร้ายร่างกาย ปล้น และลักพาตัวชาวซีเรียคนหนึ่งจากห้องพักของโรงแรมในกรุงเทพฯ ด้วยความพยายามที่จะช่วยเหลือครอบครัวชาวอิหร่าน 2 ครอบครัวจากการทะเลาะกับบุคคลที่ 3 ที่สุดแล้วเบนนีพบว่า ตัวเองถูกกล่าวหาว่า ใช้ปืน ปล้นและกรรโชกชาวซีเรีย
ตามคำให้การของชาวซีเรียผู้นั้น ศาลพบว่า เบนนีมีความผิดตามข้อกล่าวหา และยังผิดฐานครอบครองอาวุธปืน
น่าประหลาดว่า ชาวซีเรียผู้นั้นรอจนถึง 14 วันหลังการถูกละเมิดกว่าที่เขาจะไปร้องทุกข์ และยังใช้เวลานานกว่านั้นในการแก้ไขคำฟ้องเพื่อรวมเอาประเด็นอาวุธปืนเข้าไป ด้วย
ขณะนี้เบนนีอยู่ในคุกที่มีนบุรี ซึ่งเป็นเรือนจำที่ตั้งอยู่ในเขตรอบนอกกรุงเทพฯ เขาต้องใช้เวลามากกว่า 8 ปีอยู่ใน 6 เรือนจำ และ 17 แดนขัง เนื่องจากเขาถูกย้ายทุกครั้งที่เขาเปิดโปงเรื่องการคอร์รัปชั่น หรือการละเมิดที่เกิดขึ้นโดยระบบของเรือนจำ
เขารณรงค์เรียกร้องสิทธิและโอกาสให้แก่ผู้ต้องขังอื่นๆ ด้วย เขาเพิ่งจะท้าทายผู้อำนวยการเรือนจำเกี่ยวกับราคาที่สูงเกินปกติของกล้วยที่ ขายในเรือนจำ ซึ่งส่งผลให้เพื่อนผู้ต้องขังได้เห็นเขาถูกแยกไปคุมขังอยู่แดนที่เล็กกว่า และโดดเดี่ยวกว่าของเรือนจำมีนบุรีในทันที แต่เรื่องนี้ก็ไม่สามารถหยุดยั้งเบนนีจากความพยายามอย่างต่อเนื่องในการ เขียนจดหมายถึงเอ็นจีโอและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งเขาหวังว่าวันหนึ่งจะช่วยเขาได้
ซาบีน แซงเกอร์ หัวหน้าทีมกฎหมายขององค์กรเพื่อการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมสากล (The Fair Trial International) ตั้งตาคอยข่าวสารจากเบนนี “จดหมาย ของเขาเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ได้อ่าน เขาเป็นคนที่มีความหวัง แม้แต่ในยามที่มืดมิด เจ้าความคิด มีความรู้ และไม่สามารถจะข่มขู่ได้ ขณะที่เขาจัดการเกี่ยวกับกรณีของตัวเอง เขาก็เปิดหูรับฟังเพื่อนร่วมคุก และยืนหยัดต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ของเรือนจำเพื่อเพื่อนของเขา
“ในช่วง 8 ปีครึ่งที่อยู่กับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมในต่างประเทศ ผมได้เห็นคนจำนวนมากได้รับโอกาส และได้แสดงความเข้มแข็งของตนเอง ศักดิ์ศรี และความน่าเห็นใจในช่วงเวลาที่ยากลำบาก เบนนีเป็นตัวอย่างที่ดีของบุคคลที่คุกทำให้ผู้นั้นกลายเป็นคนที่ดีขึ้น”
ขณะที่เบนนีได้แสดงความมีมนุษยธรรมและความเห็นอกเห็นใจแก่ผู้อื่น แต่สิ่งเดียวกันนั้นกลับไม่เกิดขึ้นจากรัฐบาลของเขาเอง เป็นเรื่องเศร้าที่ว่า สถานทูตสวีเดนได้แสดงความเห็นอกเห็นแต่เพียงเล็กน้อยต่อชะตากรรมของเขา ขณะที่ก็ไม่เคยเข้าฟังการพิจารณาคดีของเขาเลย
ลูเซีย ทริกเกอร์ ทนายความชาวสวีเดน ซึ่งใกล้ชิดกับบุคคลที่ดูแลกรณีของเบนนีอยู่กล่าวว่า ทางการสวีเดนพยายามให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่แก่เบนนี แต่การตัดสินใจที่สำคัญอยู่ที่ทางฝ่ายไทย สำหรับเบนนีแล้ว ดูเหมือนทางการไทยจะได้ตัดสินใจลงไปแล้ว และทางสวีเดนก็หลงลืมเขาไปแล้วเช่นกัน
เพื่อนร่วมคุกซึ่งต้องโทษประหารในคลองเปรมฯจำเบนนีได้ดี แม้ว่าจะเป็นการขัดต่ออนุสัญญาว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ทว่าตรวนและโซ่ล่ามขา กลับเป็นสิ่งที่ถูกใช้ในการควบคุมและลงโทษนักโทษในคุกไทย แต่หลังจากการยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดในนามของนักโทษ เบนนีประสบความสำเร็จในการยกเลิกการใส่โซ่ตรวน
เบนนี ยังเป็นที่รู้จักดีของผู้พิพากษาในศาลอาญา เมื่อเขาถูกเรียกตัวไปศาล ตามธรรมเนียมปฏิบัติของท้องถิ่น เขาจะถูกสั่งให้ถอดรองเท้าและถุงเท้า และแม้ว่าจะถูกข่มขู่และคุกคามจากเจ้าหน้าที่ เขาก็ยังคงแข็งขืน แต่ท้ายที่สุดเขาก็ถูกใช้กำลังบังคับให้ถอดรองเท้าและถุงเท้าจนได้
หน้าบัลลังก์ของผู้พิพากษา เขาได้กล่าวร้องขอต่อศาลให้ยอมรับเขาในฐานะมนุษย์ ซึ่งผู้พิพากษาเห็นใจ และเขาได้รับการอนุญาตให้สวมถุงเท้าและรองเท้าได้ หลังจากเหตุการณ์นี้ ผู้ต้องขังจำนวนมากก็ได้ร้องขอเช่นเดียวกัน
เบนนีเป็นผู้โชคดีที่คดีของเขาได้เข้าสู่ชั้นอุทธรณ์ เขาระบุว่า ในระบบกฎหมายไทยนั้น คุณเป็นผู้กระทำผิดจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าบริสุทธิ์ วันไต่สวน การพิจารณาคดีของเขาหยุดชะงักอย่างเนิ่นนาน และจบลงด้วยการเลื่อนพิจารณา จากรายงานสืบสวนที่เป็นอิสระขององค์กรการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม ระบุว่า พบข้อพิรุธต่อกรณีของเขา
ความพยายามของเขาในการที่จะให้คดีของตนเองได้รับการพิจารณาก็ถูกทำให้ชะงัก ลง เพราะประจักษ์พยานที่สามารถจะให้การยืนยันได้ต่างเดินทางกลับประเทศอิหร่าน หลังจากที่เขาถูกกล่าวหาได้ไม่นาน นายวรสิทธิ์ พิริยะพิบูลย์ ทนายความชาวไทยที่ว่าความให้เบนนี (ผู้ซึ่งให้อุทิศตัวให้กับการเปิดเผยสิ่งที่เขาเชื่อว่าเป็นการตัดสินคดีที่ ผิดพลาดต่อผู้บริสุทธิ์)เพิ่งเดินทางไปยังเตห์ราน เพื่อทำคำให้การของประจักษ์พยาน
บันทึกคำให้การเหล่านี้ ในที่สุดได้รับรองโดยกระทรวงการต่างประเทศของอิหร่าน และยื่นพร้อมเอกสารอื่นๆ ในคำร้องขอพิจารณาคดีอีกครั้งในประเทศไทย
มันเป็นการเดินทางที่ยาวนานของเบนนี เขาได้เรียนรู้ระบบอย่างดี ในระบบนี้ คุณต้องจ่ายเงินในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการยุติธรรม หากปราศจากเงิน ก็คือการพิพากษา และจะถูกส่งไปยังกรงขังลิง ซึ่งสามารถจ่ายให้กับผู้คุมเรือนจำได้ กล้วยที่ราคาแพงที่สุดในราชอาณาจักรไทย ก็คือกล้วยที่ขายอยู่ในคุก
--------------------------------------------------------------------------------
แฮรี่ นิโคไลดส์ เป็นนักเขียนชาวออสเตรเลีย ซึ่งเคยถูกจำคุกในเรือนจำที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2008 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2009 ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เขาได้พบเบนนี อาฟี ในคุก
หมายเหตุ
[1] ข้อมูลจำนวนคดีที่เบนามฟ้องศาลปกครองในบทความของแฮรี่ ระบุว่ามีจำนวน 130 คดี แต่จากการสอบถามจากทนายความขอเบนาม ระบุว่า ขณะนี้ มีจำนวนมากกว่านั้น โดยส่วนใหย๋เป็นการร้องเรียนแทนเพื่อนๆ ผู้ต้องขังรายอื่นๆ
[2] นายวรสิทธิ๋ พิริยะวิบูลย์ ทนายความชี้แจงว่า คดีของเบนามได้รับคำพิพากษาฎีกาแล้ว แต่กระบวนการที่แฮรี่ระบุว่าเป็นการอุทธรณ์นั้น ที่ถูกต้องคือการดำเนินการร้องขอรื้อฟื้นคดี
[3] ที่มาของข่าว: http://www.eurekastreet.com.au/
อ่านรายละเอียด กรณีแฮรี่ นิโคไลดส์ คลิ้กที่นี่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น