หมายเหตุ: LM Article


LM watch พยายามคงการเน้นคำในเนื้อหาให้ใกล้เคียงกับต้นฉบับเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่เนื่องจากเงื่อนไขทางเทคนิคบางประการ ทำให้การแสดงผลบนเวบไซต์นี้ยังไม่สามารถใช้การเน้นแบบ "ขีดเส้นใต้" ได้ จึงจำเป็นต้องใช้การเน้นด้วย "ตัวหนา" แทนในบางกรณี ซึ่งต้องขออภัยต่อเจ้าของบทความ/รายงาน ตลอดจนผู้อ่านเป็นอย่างสูง

LM watch



วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ส.ศิวรักษ์ หนุนแก้ กม.หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ที่มา: ประชาไท วันที่ : 9/6/2551


ส.ศิวรักษ์ หนุนแก้ กม.หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

วานนี้ (9 มิ. ย.51) สถาบันสันติประชาธรรม จัดโครงการเสวนาสิทธิมนุษยชนกับความเห็นที่แตกต่าง (2) หัวข้อเสวนาปรากฏการณ์จักรภพ เพ็ญแข: ภาพสะท้อนสังคมการเมืองไทย ที่ห้อง 222 คณะ นิติศาสตร์ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยากรประกอบด้วย นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยาม นายพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายประวิตร โรจนพฤกษ์ สื่อมวลชน ดำเนินรายการ โดย ชัยธวัช ตุลาฑล สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน

นายพิชญ์ กล่าวว่า ไม่ได้มาแก้ต่างให้นายจักรภพแต่ตนเชื่อว่านายจักรภพ พูดถึงระบบอุปถัมภ์ในบริบทที่หมายถึงข้าราชการและทหาร ว่ามีมายาคติที่เป็นอุปสรรคต่อระบอบประชาธิปไตย โดยต้องการโจมตี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี แต่ไม่ได้มีเจตนาที่จะโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม นักข่าวที่เข้าฟังนายจักรภพในวันนั้นก็ไม่ได้เชื่อในสิ่งที่นายจักรภพ วิพากษ์วิจารณ์ระบบอุปถัมภ์ เพราะนายจักรภพเองก็ระบุยอมรับว่าตัวเขาเองก็ตกอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทำให้มีคำถามของผู้เข้ารับฟังว่าในท้ายที่สุดหากไม่ยอมรับในระบบอุปถัมภ์ แล้วทำไมเขาต้องอยู่ใต้ระบบอุปถัมภ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และสิ่งที่เป็นปัญหาของนายจักรภพคือการปกป้องพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งทำให้นายจักรภพมีความน่าเชื่อถือลดลง

นายพิชญ์ กล่าวต่อไปว่า นายจักรภพ เรียนคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ในช่วงปี พ.ศ. 2528-2531 ซึ่ง เป็นช่วงท้ายที่ พล.อ.เปรม เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้เขาเห็นโลกอีกแบบหนึ่งคือเห็นความแตกต่างระหว่าง นายกฯที่มาจากการเลือกตั้งคือ พ.ต.ท.ทักษิณ และ นายกฯ ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่มีพรรคการเมืองพร้อมใจเชิญมานั่งในตำแหน่งโดยไม่ได้ลงสมัครให้ประชาชน เลือก คือ พล.อ.เปรม ซึ่งนักการเมืองก็ไม่โกรธแค้นแม้ พล.อ.เปรมยุบสภา ทำให้ตนเชื่อว่ากรณีดังกล่าวเป็นตัวแบบของนายกรัฐมนตรีที่นายจักรภพเห็นว่า มีความแตกต่างกันจึงพูดโดยมีเป้าโจมตี พล.อ.เปรม ในบริบทที่สื่อมวลชนเองก็เข้าใจไปว่าพล.อ.เปรมอยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร ดังนั้นการพูดของนายจักรภพอาจเข้าข่ายหมิ่นประมาท พล.อ.เปรม แต่ไม่ได้แปลว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ยกเว้นจะแปลความว่า พล.อ.เปรมเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งจะทำให้ยุ่งไปกันใหญ่

"พล. อ.เปรมควรฟ้องนายจักรภพในข้อหาหมิ่นประมาท เพราะเริ่มต้นก็ซัดว่าเรือนจำคุณเปรม เป็นเรื่องระหว่างพล.อ.เปรมและนายจักรภพ ไม่ใช่ว่าบุคคลที่ 3 ต้อง มาฟ้องนายจักรภพหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะนายจักรภพไม่ได้พูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์และสังคมก็ไม่ควรเข้าใจผิด ไปว่าหมิ่นประมาท พล.อ.เปรม เท่ากับหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์เพราะเป็นคนละส่วนกัน" นายพิชญ์กล่าวและว่าคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ส่วนใหญ่ผู้ฟ้องจะไม่ใช่ผู้ที่ถูกหมิ่นฯ แต่เป็นผู้อ้างว่าจงรักภักดีโดยนำการกล่าวหามาเป็นเครื่องมือทางการเมือง

นายพิชญ์ กล่าวถึงพรรคประชาธิปัตย์และตำรวจที่จะดำเนินคดีต่อนายจักรภพ ว่าการแปลคำพูดจากภาษาต่างประเทศเพื่อจะไปตั้งข้อหาต่อคนอื่นนั้น ต้องระมัดระวังและคำนึงถึงบริบทว่าผู้พูดหมายถึงอะไรและไม่ใช่พยายามจะแปล ให้เขาผิดหรือจับผิดเพราะผู้ทำการแปลคือผู้ที่เขียนใหม่ซ้ำอีกครั้งอาจมี ความหมายที่ต่างกันขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาพูดครั้งเดียวแต่คนที่กล่าวหาคนอื่น ต้องพูดซ้ำอีกหลายครั้ง และระบบอุปถัมภ์ก็เป็นคำที่สามารถตีความได้หลายความหมาย เช่น หากกระทรวงมหาดไทยหรือ กกต. เชิญนายจักรภพไปพูดเรื่องระบบอุปถัมภ์ก็อาจจะมีความหมายไปตามวาทกรรมของชน ชั้นกลางที่ว่าระบบดังกล่าวทำให้เกิดการซื้อสิทธิ์ขายเสียงเป็นอุปสรรคต่อ ประชาธิปไตย ซึ่งตัวระบบไม่สามารถตีความไปได้ว่าหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์และที่ผ่าน มานายจักรภพก็เป็นสื่อกระแสหลักที่มีความสามารถในการบรรยายงานพิธีการต่างๆ ได้ดี สำหรับกรณีนายจักรภพพูดที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ตนเห็นว่า เขาเริ่มต้นพูดระบุบริบทว่าตนเองเพิ่งออกมาจากคุกคุณเปรม และพูดเรื่องการออกเสียงลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งมีการชนกันระหว่างระบบอุปถัมภ์ 56เปอร์เซ็นต์และประชาธิปไตย41เปอร์เซ็นต์ และเน้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 โดย นายจักรภพ ไม่ได้บอกว่าไม่ต้องการสถาบันพระมหากษัตริย์และไม่ได้แสดงความอาฆาตมาดร้าย แต่พยายามจะบอกว่าสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ตรงไหน ไม่ใช่มีแต่เพียงมายาคติที่ไม่มีความชัดเจน

"จาก ต้นฉบับภาษาอังกฤษจะเห็นว่า นายจักรภพระบุว่า มายาคติทางการเมืองเป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย แต่ไม่ได้หมายความว่าสถาบันกษัตริย์หรือกษัตริย์เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ผมไม่ได้บอกว่านายจักรภพพูดถูก แต่ยังไม่เห็นว่านายจักรภพผิดตามข้อกล่าวหาตรงไหน เว้นเสียแต่ว่าผู้ฟ้องร้อง จะแปลคำว่าระบบอุปถัมภ์ให้เป็นคำว่าสถาบันพระมหากษัตริย์" นายพิชญ์กล่าวและว่าเชื่อว่านายจักรภพไม่ต้องการพึ่งระบอบอำมาตยาธิปไตยที่เล่นพรรคพวกและรัฐประหารโดยอ้างความจงรักภักดี

ส่วน กรณี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่าสิ่งที่นายจักรพูดนั้นเป็นอันตราย นายพิชญ์กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ ควรระบุด้วยว่าเนื้อหาที่นายจักรภพพูดนั้นเป็นอันตรายต่ออะไร เช่นอันตรายต่อระบบอุปถัมภ์ซึ่งเขากำลังวิจารณ์ หรืออันตรายต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรืออันตรายต่อกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เพราะตามตรรกะที่นายจักรภพพูดเรื่องมายาคติ ตนยังไม่เข้าใจว่านายอภิสิทธิ์ คิดว่าเป็นอันตรายต่ออะไร นอกจากจะอันตรายต่ออุดมการณ์ครอบงำที่ผู้มีอำนาจสร้างกลไกให้ประชาชนไม่ เข้าใจต่อบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์

กรณี ที่พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้ความเห็นกรณีนายจักรภพ พูดที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ว่าการพูดในที่สาธารณะไม่เหมือนการพูดในที่ลับ นายพิชญ์ กล่าวว่า พล.อ.บุญสร้าง ใช้มาตรฐานของการพูดในที่ลับและที่สาธารณะแตกต่างกัน แต่ตนสงสัยว่าอะไรคือคำจำกัดความว่าที่ไหนที่ลับหรือที่สาธารณะเพราะสโมสร ผู้สื่อข่าวต่างประเทศอาจไม่ใช่ที่สาธารณะแต่เป็นชุมชนของนักข่าวต่างประเทศ เฉพาะกลุ่มบุคคลที่เป็นสมาชิก ซึ่งเชิญนายจักรภพไปพูดในฐานะที่นายจักรภพเป็นคนที่อยู่ในข่าวและที่แห่ง นั้นเป็นที่มีกิจกรรมทางวิชาการไม่ใช่ที่ไฮด์ปาร์ก อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าสโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศเองก็ควรที่จะยืนยันในหลักการว่าคนที่ มาพูดในที่แห่งนั้นมีเสรีภาพที่จะพูดได้ ไม่ใช่นิ่งเฉยไม่แสดงความเห็นอะไรทั้งที่เป็นผู้เชิญนายจักรภพไปพูด เพราะมิเช่นนั้นต่อไปคนที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ก็จะไม่อยากไปพูดให้อีก อีกทั้งเป็นการสร้างค่านิยมให้นักการเมืองไม่กล้าพูดอะไรในเชิงวิพากษ์ วิจารณ์

ด้าน นายประวิตร กล่าวว่า พล.อ.บุญสร้าง กำลังสะท้อนวัฒนธรรมหน้าไหว้หลังหลอก ในแง่หนึ่งก็บอกว่าการติฉินนินทาเป็นเรื่องปกติทำได้ในที่ส่วนตัว แต่ไม่ได้บอกว่าคนเห็นด้วยกับนายจักรภพแค่ไหน มีเพียงกระแสว่าผิดหรือไม่ผิดทำให้สถาบันกษัตริย์ไม่มีทางรู้ได้ว่าประชาชน จริงๆรู้สึกอย่างไรมีแต่การเทิดทูนอย่างไม่พอเพียง อย่างไรก็ตามเชื่อว่าสิ่งที่เป็นอันตรายคือสื่อกระแสหลักตัดสินไปแล้วว่า นายจักรภพทำผิดเป็นกลไกการจัดการผู้ถูกกล่าวหาที่ไม่ใช่แค่รัฐ ทำให้นายจักรภพถูกผลักให้เป็นสีดำทันทีทั้งที่ยังไม่มีคำพิพากษาของศาล

นาย สุลักษณ์ กล่าวว่า ภาพสะท้อนของการเมืองไทยขณะนี้ผูกติดกับสถาบันกษัตริย์ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหรือฝ่ายไหน แต่ตนสงสัยว่าคนเข้าใจสถาบันกษัตริย์มาน้อยเพียงไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันที่ 9 มิ.ย. เป็นวันรัชมงคล ควรมีการพูดว่าสถาบันกษัตริย์มีความสำคัญอย่างไรและบกพร่องอย่างไร เพราะถ้าเห็นคุณค่าก็ควรพูดทั้งในแง่บวกและลบ ทำอย่างไรจะลดคุณค่าทางลบและอุดหนุนคุณค่าทางบวก โดยใช้สัจจะวาจากล้าหาญปกป้องสถาบันกษัตริย์ ไม่ว่าสื่อมวลชนหรือมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ตอแหล บอกว่าสถาบันกษัตริย์อุปถัมภ์ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการพูดเกินเลยความจริงเพราะไม่มีกษัตริย์องค์ไหนอุดหนุน ประชาธิปไตยรวมทั้งองค์ปัจจุบัน นอกจากนั้นควรวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ได้ด้วยโดยไม่ต้องยกย่องว่าอัจฉริยะภาพ ในทุกด้านเพราะภาพฝีพระหัตถ์บางภาพก็ไม่ได้สวย เพลงพระราชนิพนธ์บางเพลงก็ไม่ได้ไพเราะ เราควรวิจารณ์ได้

นาย สุลักษณ์ กล่าวด้วยว่า ตนมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษไม่แพ้พรรคประชาธิปัตย์แต่ยังไม่เห็นข้อ ความที่จะเอาผิดนายจักรภพ ฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ บางคนอ้างความจงรักภักดีโดยไม่ฟังพระราชดำรัสที่ในหลวงตรัสว่า หากแตะต้องไม่ได้จะทำให้พระองค์อยู่ลำบาก ตนเห็นว่า สังคมควรมีความเข้าใจว่าจะปกป้องสถาบันกษัตริย์อย่างไร ไม่ใช่รักเพราะหลง อย่างไรก็ตามเห็นว่าควรแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและเปิดโอกาสให้คน ที่ไม่ต้องการสถาบันพระมหากษัตริย์และคนที่ต้องการสถาบันกษัตริย์มีโอกาส พูดได้เต็มที่ ไม่ใช่เชลียร์กันตลอดเวลา คนที่มีตำแหน่งองคมนตรีก้ต้องโปรงใส ไม่ใช่รับใช้ซีพีหรือราชเลขาฯ หากินกับพม่าเซ็งลี้ต่างๆ เป็นอันตราย เพราะกฎหมายเวลานี้ไม่สามารถปกป้องพระมหากษัตริย์และไม่ปกป้องพสกนิกรของ พระองค์ โดยเฉพาะการใช้กฎหมายดังกล่าวไปเล่นงานนายโจนาทาน เฮด ผู้สื่อข่าวบีบีซี ทำให้ประเทศไทยอับอายไปทั่วโลก และหาว่าคนที่คิดแตกต่างไม่ใช่คนไทย ทำราวกับว่าอยู่ในยุคหินทั้งที่คนไทยและไม่ใช่คนไทยก็มีความน่ารักเหมือนกัน

"คนที่คิดต่างจากเราก็มีความน่ารัก ผมไม่ได้ชอบนายจักรภพ และหมั่นไส้ด้วยซ้ำ แต่เห็นว่าเขาก็น่ารักและมีสิทธิ์ที่เราต้องเคารพ"นาย สุลักษณ์กล่าวและว่า เราต้องคุยกันว่าจะธำรงสถาบันกษัตริย์อย่างไรต้องออมชอมกันเพราะสถาบัน กษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจคนทั้งชาติ อยากให้คุยกันในสาระ เพราะหากเพียงใส่เสื้อเหลืองก็มีผลทำให้เจ๊กได้เงินค่าเสื้อแต่สังคมไทยไม่ มีการเผชิญปัญหาด้วยสัจจะ

นายสุลักษณ์กล่าวว่า กรณีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ระบุว่าเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 มี คนตายเพียงคนเดียวนั้นไม่เป็นความจริง และสื่อมวลชนควรจะเล่นงานนายสมัครที่พูดจาโกหก ตอแหล ทำให้เกิดความเสียหาย ไม่ต้องรอให้พันธมิตรฯมาไล่รัฐบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น