หมายเหตุ: LM Article


LM watch พยายามคงการเน้นคำในเนื้อหาให้ใกล้เคียงกับต้นฉบับเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่เนื่องจากเงื่อนไขทางเทคนิคบางประการ ทำให้การแสดงผลบนเวบไซต์นี้ยังไม่สามารถใช้การเน้นแบบ "ขีดเส้นใต้" ได้ จึงจำเป็นต้องใช้การเน้นด้วย "ตัวหนา" แทนในบางกรณี ซึ่งต้องขออภัยต่อเจ้าของบทความ/รายงาน ตลอดจนผู้อ่านเป็นอย่างสูง

LM watch



วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

นักวิจัยวิสคอนซิลชี้ คดีหมิ่นฯคือเครื่องมือเผด็จการ !

ที่มา: ประชาไท (29 เมษายน 2549)



นักวิจัยวิสคอนซิลชี้ คดีหมิ่นฯคือเครื่องมือเผด็จการ !

วันที่ 28เม. ย. หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันสันติประชาธรรม จัดการอภิปรายทางวิชาการ เรื่อง ‘สถาบันพระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ’

นาย เดวิด สเตร็คฟัส ผู้ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิล กล่าวว่า คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นสิ่งที่คุกคามสถาบันพระมหากษัตริย์มากที่สุดใน ปัจจุบัน ดังนั้นสังคมไทยควรทบทวนบทบาทกฎหมายนี้ เพราะกฎหมายบางข้อยังล้าสมัย และทวนกระแสประชาธิปไตยที่มีวิวัฒนาการมาค่อนข้างมากในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา

พ. ศ. 2502 กฎหมายหมิ่นประมาทได้ถูกเพิ่มโทษให้สูงขึ้น จากจำคุก 3 ปี เป็น 7 ปี ช่วงนั้นตรงกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งเข้าสู่สมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจ ความเปลี่ยนแปลงทางการใช้อำนาจกฎหมายค่อนข้างสูง มีการใช้คำสั่งคณะปฏิวัติมากกว่าประมวลกฎหมายอาญา รวมทั้งรื้อฟื้นและสร้างบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ใหม่ จนเข้าสู่ช่วงหลัง 6 ต.ค. 19 มีการเพิ่มโทษเป็นจำคุก3-15 ปี แต่มีความแปลกหากพิจารณาจากจำนวนคดี จะเห็นว่าไม่มีคดีถึงศาลฏีกา ตัวกฏหมายไม่เคยเปลี่ยนด้วย

“สมัยหลังจอมพลสฤษดิ์ คือเผด็จการสมบูรณ์แบบมากขึ้น กฎหมายคดีหมิ่นประมาทวิวัฒนาการทำให้พูดถึงกฎหมายนี้ไม่ได้”

อย่าง ไรก็ตาม นายเดวิดพูดถึงความแปลกของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทยอีกว่า 30 ปีผ่านมาคนที่กล่าวหาบุคคลว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมักจะไม่ใช่ผู้ที่เกี่ยว ข้องโดยตรง แต่เป็นบุคคลที่สามไปแจ้งให้เจ้าหน้าตำรวจดำเนินการ ส่วนผู้ถูกกล่าวหาก็จะรีบสารภาพคือทำหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษทันที ทั้งๆทีบางครั้งอาจไม่รู้สึกว่าผิดก็ได้

กฎหมาย ดังกล่าวทำให้สังคมไทยรู้สึกผิดปกติในการจะแสดงความเห็นเรื่องนี้ และยังถูกนำไปเป็นเครื่องมือของผู้ที่เข้าสู่อำนาจ ดังนั้นจึงถึงเวลาทบทวนกฎหมายนี้และเปิดให้สังคมผู้ตัดสิน

นาย เดวิด ยกตัวอย่างสังคมประชาธิปไตยในประเทศอังกฤษว่าการแสดงความคิดเห็นต่อสถาบัน เป็นเรื่องปกติ ทั้งๆที่อังกฤษก็มีกฎหมายนี้แต่ไม่ได้นำมาใช้ตลอด 10 ปี หากมีความรู้สึกเกินเลยจะใช้กฎหมายหมิ่นประมาทธรรมดา นอกจากนี้ในประเทศอังกฤษจะมีการสำรวจความชอบหรือไม่ชอบของคนอังกฤษต่อสภถา บันพระมหากษัตริย์บ่อยๆ ซึ่งคนอังกฤษยังพอใจที่มีสถาบันนี้เช่นเดียวกับคนไทย แต่หากบางคนอยากยกเลิกก็เป็นเรื่องธรรมดา

นาย เดวิดระบุชัดเจนว่ากฎหมายดังกล่าวเป็นเศษอุดมการณ์ที่เกิดจากสมัยจอมพล สฤษดิ์ ซึ่งมีคนที่เข้าสู่อำนาจพร้อมที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือมาตลอด และทุกคนก็รู้ว่าเป็นแบบนี้มาเป็นสิบๆปี


ด้าน นายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด กล่าวว่า กระบวนการยุติธรรมของประเทศไม่มีหลักเกณฑ์จึงทำให้คนกลัว กรณีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเลยถูกหลายคนใช้ไปแจ้งความจนเลอะเทอะไปหมด ตัวกฎหมายไม่ได้แย่ แต่เวลาปฏิบัติกลับยุ่งเหยิงเพราะมีการไปแจ้งความทั่วประเทศ ที่เกิดขึ้นแบบนี้ได้ในสังคมไทยเพราะกระบวนการยุติธรรมของเราไทยไม่มี ประสิทธิภาพใดๆ ทั้งสิ้น

“ตอน นี้ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่ที่ตัวกฎหมาย แต่คนที่ใช้กฎหมายไม่มีความระวัง คือกระบวนการยุติธรรมที่ยังไม่นิ่ง รวมทั้งมีการแยกอาณาจักรออกจากกันและกัน อาณาจักรศาล อาณาจักรอัยการ อาณาจักรตำรวจไม่เกี่ยวข้องกัน ฉะนั้นเมื่ออาณาจักรแยกออกจากกันแล้ว จะเกิดกระบวนการยุติธรรมได้อย่างไร นอกจากการบังคับใช้กฎหมายยังไม่ได้ผลแล้ว กลับละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกด้วย ตอนนี้กระบวนการยุติธรรมยังได้รับการน่าเชื่อถือคือศาลยุติธรรมและศาลปกครอง ดังนั้นจึงถึงเวลาต้องยกเครื่องระบบกฎหมายทั้งหมด”

ศ. ดร.คณิต กล่าวด้วยว่า วิกฤตของประเทศไทยตอนนี้คือวิกฤตของกฎหมาย กับวิกฤตนักกฎหมาย ทำให้มั่วหมด ดังเช่นที่ในหลวงทรงมีพระราชดำรัส และต้องเริ่มแก้ไขที่การเรียนการสอนด้านกระบวนยุติธรรมในมหาวิทยาลัย ซึ่งขอโทษคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นที่ที่ ศ.ดร.คณิตได้เรียนจบมาด้วย

“นิติศาสตร์คิดไม่เป็น จำลูกเดียว ต้องทำให้นักกฎหมายคิดเป็น รวมทั้งคนที่จบออกไปด้วย อดีตอัยการสูงสุดกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น