หมายเหตุ: LM Article


LM watch พยายามคงการเน้นคำในเนื้อหาให้ใกล้เคียงกับต้นฉบับเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่เนื่องจากเงื่อนไขทางเทคนิคบางประการ ทำให้การแสดงผลบนเวบไซต์นี้ยังไม่สามารถใช้การเน้นแบบ "ขีดเส้นใต้" ได้ จึงจำเป็นต้องใช้การเน้นด้วย "ตัวหนา" แทนในบางกรณี ซึ่งต้องขออภัยต่อเจ้าของบทความ/รายงาน ตลอดจนผู้อ่านเป็นอย่างสูง

LM watch



วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

‘นิธิ’ ยันหลักการร่วมลงชื่อยกเลิก ม.112 ป้องกันใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง

ที่มา: ประชาไท (11/2/2552)


‘นิธิ’ ยันหลักการร่วมลงชื่อยกเลิก ม.112 ป้องกันใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง

11 ก.พ. 52 ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ให้สัมภาษณ์ ‘ประชาไท’ กล่าวถึงการร่วมลงชื่อ กรณีรณรงค์ให้ยกเลิกมาตรา 112 (หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) หลังจากพนักงานสอบสวนออกหมายเรียก รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์ ในความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพว่า เป็นไปตามหลักการเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก

“การ ลงชื่อนั้น คนอื่นจะคิดอย่างไรก็แล้วแต่ แต่ประเด็นมันอยู่ที่เรื่องหลักการที่ว่า คนควรมีเสรีภาพในการพูดหรือแสดงออก ในสิ่งที่เขาพูด เขาอาจจะคิดผิด ข้อมูลผิด อะไรก็ตามแต่ ก็ตอบโต้เขาได้ ไม่ใช่ปัญหา ซึ่งคนที่ลงชื่อจำนวนไม่น้อยก็อาจจะไม่เห็นด้วยสิ่งที่ใจคิดหรือข้อเขียนของ เขาที่กลายเป็นคดีก็ได้ แต่เขาเซ็นชื่อด้วยหลักการว่า เป็นนักวิชาการจะคิดอย่างนั้น จะวิเคราะห์อย่างนั้น เป็นหน้าที่ที่จะแสดงออกโดยมีเสรีภาพ" นิธิกล่าว อย่างไรก็ตามเขาเห็นว่า ข้อความที่ ‘ใจ’ เขียนในหนังสือและกลายเป็นคดีความนั้น โดยส่วนตัวคิดว่าไม่ได้มีเจตนาที่จะดูหมิ่นหรือก่อความอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบัน

“คน ลงชื่อให้อาจารย์ใจ ไม่ได้แปลว่าเห็นด้วยกับอาจารย์ใจ แต่ลงชื่อในหลักการว่า อาจารย์ใจต้องมีเสรีภาพในการแสดงออกโดยบริสุทธิ์ใจในสิ่งที่แกคิด แกวิเคราะห์ คนละเรื่องกัน ต้องแยกตรงนี้ให้ออก” นิธิกล่าว

เมื่อ ถามถึงการจัดการต่อบรรยากาศของความกลัวที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยขณะนี้ นิธิย้ำว่า หากเราไม่มีสติปัญญาที่จะโต้ หรือชี้ให้เห็นจุดอ่อนจุดแข็งต่างๆ ในงานศึกษาเหล่านี้ก็อาจต้องกลัว เหมือนกับกบที่ต้องขุดดินหนีภัยเพราะไม่สามารถจะสู้อะไรได้ แต่ถ้าสังคมไทยเป็นสังคมที่มีสติปัญญา สามารถที่จะตอบโต้ด้วยเหตุผลได้ก็ไม่เห็นจะมีอะไรน่ากลัว

ผู้ สื่อข่าวถามต่อว่า การดำเนินคดีข้อหาหมิ่นฯ กับผู้คนร้อยกว่าคดี ประกอบกับการที่สื่อมวลชนไทยไม่ลงข่าวนี้ปล่อยให้มีการดำเนินการกันเงียบๆ จะทำให้บรรยากาศความกลัวเลวร้ายลงหรือไม่ นิธิตอบว่า อันที่จริง คนไม่กล้าพูดมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ตอนนี้กลายเป็นว่า คนถูกฟ้องร้องมีมากมาย โดยมีบุคคลก็ตาม องค์กรก็ตาม พรรคการเมืองก็ตาม ใช้ประโยชน์จากมาตรา 112 ในการขจัดศัตรูทางการเมืองของตนเอง ที่น่าเศร้าคือ มาตรานี้อนุญาตให้ใครเป็นผู้ร้องทุกข์ก็ได้ ถามว่าตำรวจไทยเมื่อได้รับคดีร้องทุกข์อย่างนี้จะกล้าบอกไหมว่าการร้องทุกข์ นั้นฟังไม่ขึ้น ประกอบกับการกระพือข่าวก่อนที่จะมีการกล่าวหาด้วยแล้ว ยิ่งเป็นไปได้ยากที่จะไม่ทำคดี ดังนั้น ในที่สุด ทุกคนก็ผ่านจากขั้นตำรวจไปถึงขั้นอัยการ ซึ่งสำหรับคดีนี้ อัยการส่วนใหญ่หรืออย่างน้อยครึ่งหนึ่งก็คงต้องฟ้องไปก่อนแล้วให้ไปว่ากัน ที่ศาล ภายใต้กระบวนการยืดยาวทั้งหมดนี้ คนที่ถูกร้องทุกข์กล่าวโทษจะเดือดร้อนแค่ไหน

“กฎหมายตัวนี้ถูกคนนำไปใช้ไม่ใช่เพื่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย เจตนารมณ์ของกฎหมายก็คือ สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะลำบาก ท่าน ป้องกันตัวเองได้ยาก ถ้าใครหมิ่นประมาทท่าน จะให้ท่านลงมาว่าคดีกันในศาลมันจะไหวหรือ เพราะท่านคือประมุขของชาติ ดังนั้น เขาจึงทำกฎหมายแบบนี้เพื่อปกป้องให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ต้องลงมาทำเอง แต่คุณไม่ระวัง เลยปล่อยให้ถูกใช้ชนิดที่ไม่ถูกเจตนารมณ์ สร้างความเดือดร้อนไปหมดทุกหย่อมหญ้าเวลานี้ กฎหมายตัวนี้ถ้าคุณไม่ทบทวนกระบวนการใช้มัน มันจะกลายเป็นตัวเผาบ้านเผาเมือง”

“ผม คิดว่าสำหรับคนที่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยความจริงใจ ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ก็น่าจะมองเห็นว่า ทำแบบนี้ตัวสถาบันพระมหากษัตริย์เองเดือดร้อนไปด้วย” นิธิกล่าว

นิธิ กล่าวด้วยว่า ไม่โกรธกับการออกนอกประเทศของใจ เพราะแม้ทุกอย่างซื่อสัตย์หมด กระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยก็กินเวลายาวนานไล่ตั้งแต่ตำรวจถึงอัยการ และบางทีในชั้นศาลก็อาจประกันตัวไม่ได้ด้วย

“สมมติว่าศาลใช้เวลา 3 ปีในการไต่สวน แล้วในที่สุดก็พ้นข้อหา แต่ 3 ปีต้องอยู่ในคุก คุณเอาไหม เพราะฉะนั้น ไม่ว่าอาจารย์ใจจะหนีไปด้วยเหตุใด แถลงการณ์ล่าสุดของท่านก็เป็นเรื่องของท่าน แต่สมมติท่านไม่มีแถลงการณ์เลย ผมก็ยังเห็นใจการที่บุคคลหลบหนีออกจากประเทศไทยเพราะคดีนี้” นิธิ กล่าว พร้อมระบุว่า สิ่งหนึ่งที่ควรตระหนักคือแถลงการณ์ชิ้นสุดท้ายของใจนั้นเกิดขึ้นหลังจากคดี ความและแรงกดดันต่างๆ เริ่มขึ้นแล้ว เหมือนเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นต่อการกระทำที่ไม่เป็นธรรมที่ผ่านมา ส่วนก่อนหน้าที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น ยังไม่เห็นว่าอาจารย์ใจเจตนาจะต่อต้านสถาบันในกรณีไหน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น