ฉบับภาษาอังกฤษตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ Bangkok Post เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2552
ฉบับภาษาไทยแปลโดยคุณ 'bbb' เผยแพร่ในเวบบอร์ดประชาไทเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2552
กฎหมายหมิ่นฯของยุโรปและเสรีภาพทางความคิดเห็น
โดย TJACO VAN DEN HOUT
เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำราชอาณาจักรไทย
สามบทความที่น่าสนใจลงในหนังสือพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้ที่มีหัวข้อเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯซึ่งเขียนโดยดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (7, 8, 9 เมษายน 2552). ถึงแม้ว่าจะครอบคลุมเนื้อหาอย่างกว้างขวางอย่างน่าชมเชย ผมขอตั้งข้อสังเกตว่าผู้เขียนได้มองข้ามความจริงสองประการในการอธิบายสถานการณ์ในยุโรป
ประเด็นแรกคือการใช้กฎหมายหมิ่นฯและหลักการของการตัดสินของศาลบนพื้นฐานของกฎหมายนั้น
ประเด็นที่สองคือสถาบันกษัตริย์ของยุโรปที่ผู้เขียนอ้างอิงถึงในบทความ ล้วนอยู่ร่วมในอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (European Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms ("ECHR"). ผลกระทบจากกฎหมายที่มาจากคดี (case law) ECHR ต่อขบวนการยุติธรรมของคู่สนธิสัญญาไม่ควรถูกประเมินต่ำ
กฎหมายจากคดีท้องถิ่นในยุโรป (European domestic case law)
ในขณะที่ดร.บวรศักดิ์ นำเสนอบทอธิบายโดยสรุปเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ของยุโรปบางสถาบันอย่างชาญ ฉลาดรวมถึงกฎหมายหมิ่นฯของประเทศนั้นๆ มันสำคัญเช่นกันที่จะต้องตระหนักว่า ในประเทศที่เขากล่าวถึง กฎหมายดังกล่าวแทบจะไม่เคยนำมาใช้ และถึงแม้ว่าจะใช้ บทลงโทษส่วนใหญ่จะเบามาก ยกตัวอย่างเช่นในการวิเคราะห์ case law ของ Dutch เผยว่ามีการตัดสินคดีว่าผิดและคดีดังกล่าวส่วนใหญ่จะมีการปรับเพียงเล็กน้อย
ในสหราชอาณาจักรกฎหมายตกอยู่ในสภาพเลิกใช้แล้ว และระยะหลังๆก็ไม่มีตัวอย่างของคดีเช่นนี้ในประเทศเดนมาร์คและนอร์เวย์เช่นกัน เมื่อหนังสือแมกกาซีนล้อเลียนของสเปนถูกสั่งให้จ่ายเงินจำนวน 3,000 ยูโร จากการละเมิดกฎหมายหมิ่นฯเมื่อปี 2550 สมาชิกของรัฐสภายุโรปได้เรียกร้องให้การหมิ่นฯถูกกฎหมาย
หลักกฎหมายของ Strasbourg
ถึงแม้ว่าไม่มีคดีหมิ่นฯดังกล่าวในศาลสิทธิมนุษยชนของยุโรปในเมือง Strasbourg แต่มีสองกรณีที่ควรแก่การรับรู้ เมื่อมีการถกกันเกี่ยวกับบทลงโทษของการหมิ่นฯ ที่เกี่ยวกับเสรีภาพทางการแสดงออกที่รับรองโดยมาตราที่ 10 ของอนุสัญญาแห่งสหภาพยุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ในคดีของ Colombani และคนอื่นๆ V France 2002 นักข่าวสองคนถูกตัดสินว่าผิดและต้องจ่ายค่าเสียหาย 5,000 ฟรังค์ และ 10,000 ฟรังค์ตามลำดับ จากการหมิ่นประมุขของรัฐ กษัตริย์ Hassan แห่งโมร็อคโค
ตอนแรกศาลชี้ว่า การปกป้องผู้นำของรัฐต่างชาติจากการถูกตำหนิเพราะเหตุผลเรื่องหน้าที่หรือตำแหน่งของเขาอย่างเดียวนั้น "ถือเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่พวกเขาอย่างที่ไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติในยุคปัจจุบันและความคิดทางการเมือง"
นอกจากนั้น ศาลยังชี้แจงอย่างแจ่มแจ้งว่า การมีกฎหมายหมิ่นประมาทธรรมดานั้น "เพียงพอต่อการปกป้องประมุขของรัฐและพลเมืองสามัญเช่นกันจากการกล่าวคำที่มีผลเสียหาย ต่อเกียรติยศหรือชื่อเสียงของพวกเขาหรือการหมิ่นประมาทพวกเขา" ถึงแม้ว่าการตัดสินคดีนี้เกี่ยวกับการหมิ่นประมาทประมุขของรัฐต่างประเทศ มันบ่งบอกว่าศาลพิจารณาว่า การลงโทษต่อการหมิ่นประมาทประมุขของรัฐนั้นมัน "ไม่จำเป็นในสังคมประชาธิปไตย" และมันขัดต่อสิทธิเสรีภาพทางการแสดงออก ซึ่งรับรองโดยมาตรา 10 ของ ECHR มันสำคัญที่จะตั้งข้อสังเกตว่าโดยความเห็นของศาลนั้น แม้กระทั่งการที่ศาลแพ่งจะบังคับให้มีการจ่ายค่าเสียหายต่อการหมิ่นประมาทอาจละเมิดสิทธิของเสรีภาพการแสดงออกที่รับรองโดยมาตรา 10 ของ ECHR. โดยเฉพาะถ้าจำนวนเงินนั้นมากเกินไป ในคดีของ Pakdemirli V Turkey 2005 สมาชิกสภาได้ถูกสั่งโดยศาลแพ่งให้จ่ายค่าเสียหายเป็นจำนวน 60,000 ยูโรจากการหมิ่นประมาทประธานาธิบดีของตุรกี
ประการแรกแรก ศาลพิจารณาว่ามันน่าตกใจที่การตัดสินของศาลแพ่งแสดงถึงความวิตกที่มากเกินไป ต่อตำแหน่งประธานาธิบดี ประการที่สอง ในการอ้างอิงถึงการตัดสินของคดี Colombani ศาลชี้ว่าถึงแม้ว่าโดยหลักการแล้วการปกป้องโดยกฎหมายหมิ่นฯไม่ขัดกับเจตนารมณ์ของอนุสัญญา แต่กฎหมายหมิ่นประมาทธรรมดาก็ "เพียงพอต่อการปกป้องประมุขของรัฐและพลเมืองสามัญเช่นกันจากการกล่าวคำที่มี ผลเสียหายต่อเกียรติยศหรือชื่อเสียงของพวกเขาหรือการหมิ่นประมาทพวกเขา"
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของ Mr. Van den Hout ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเอคอัครราชฑูตเนเธอร์แลนด์ประจำราชอาณาจักรไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น